วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่อง การทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์

Development and Effectiveness of the Defibrillator Experiment Set


บทคัดย่อ

ในการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่องการทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์ โดยอาศัยหลักการของภาวะเวนตริคูลาร์ฟิบริลเลชั่น การทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์และวงจรทวีแรงดัน ผลการวิจัยพบว่า ชุดทดลองเรื่องการทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์นี้สามารถเลือกระดับพลังงานได้ ตัวเครื่องประกอบไปด้วย วงจรชาร์จแบตเตอรี่ วงจรกำเนิดความถี่ วงจรความต่างศักย์สูง วงจรสวิทซ์ควบคุมการชาร์จและดิสชาร์จตัวเก็บประจุ และความต้านทานทรวงอกจำลองของผู้ป่วย ในส่วนของการทดลองพลังงานที่จ่ายให้ผู้ป่วย ใช้ออสซิลโลสโคปในการวัดค่าความต่างศักย์เพื่อนำมาคำนวณหาค่าพลังงานได้ การหาค่าประสิทธิภาพของชุดทดลองและการศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อชุดทดลองนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ ที่ลงทะเบียนรายวิชา BME 355 ปฏิบัติการอุปกรณ์การแพทย์ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน  39 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS พบว่า

  1. ประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่องการทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 และค่าประสิทธิภาพของชุดทดลอง เท่ากับ 77.3/82.1
  2. การศึกษาระดับความพึงพอใจต่อชุดทดลองเรื่องการทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.659 แสดงว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดทดลองนี้ อยู่ในระดับพอใจมาก

Abstract

The purposes of the study were to development and find effectiveness of the defibrillator experiment set by applying the principle of ventricular fibrillation, principles of defibrillator and voltage multiplied circuit. The research found that defibrillator experiment set can choose the power level. The experiment set consisted of battery charger, frequency generator circuit, high voltage circuit, controlled switch circuit for charging and discharging capacitor and patient’s load. On the part of the transferring energy to patient which used an oscilloscope to measure the potential difference in order to calculate in energy term. Besides, the effectiveness of the experimental kit was studied through students’ satisfaction. The subjects included 39 biomedical engineering students who registered in the course Biomedical Devices Laboratory (BME 355) in the second semester of the academic year 2017, selected by purposive sampling technique. The obtained data were analyzed in terms of percentage, average and standard deviation by SPSS statistical packages.

The findings of the study were as the followings:

  1. in terms of effectiveness of the experimental set used in the course, it was found that the effectiveness index was 0.72 and the efficiency of experiment set was 77.3/82.1;
  2. the mean scores and standard deviation of students’ opinions toward the defibrillator experiment set were found to be 4.30 and 0.659 respectively which showed that the students were very satisfied with the developed experiment set.

Download in PDF (567.7 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.20

How to cite!

ปรียา อนุพงษ์องอาจ, & ธวัช แก้วกัณฑ์. (2562). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดทดลองเรื่อง การทำงานของเครื่องดีฟิบริลเลเตอร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(2), 87-98

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in