วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

อนาคตภาพของโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: กรณีศึกษาศูนย์มหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ.2556 – 2562)

The Scenario of the Promotion of Science and Mathematics Talented Teachers: A Case Study of Rangsit University (A.D.2013 - 2019)


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงอนาคตภาพของโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) กรณีศึกษาศูนย์มหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่าง พ.ศ. 2556 – 2562 ที่เป็นอนาคตภาพทางดี อนาคตภาพทางร้าย และอนาคตภาพที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งมีจำนวน 14 คน ประกอบด้วย คณะบดีคณะศึกษาศาสตร์  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผู้อำนวยการหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์หรือครูพี่เลี้ยงโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก รวบรวมข้อมูลที่ดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2556-2559 ใน 7 ด้าน ดังนี้ 1) การคัดเลือกนักศึกษา 2) หลักสูตรและการสอน 3) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4) การพัฒนานักศึกษา 5) การทำวิทยานิพนธ์ 6) ความร่วมมือระหว่าง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กับมหาวิทยาลัย/โรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 7) งบประมาณ  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบว่า  อนาคตภาพที่เป็นทางดี สรุปได้ดังนี้  ด้านการคัดเลือกนักศึกษา เกณฑ์ที่ใช้ปัจจุบันมีความเหมาะสมเป็นการคัดเลือกที่มีคุณภาพ  ด้านหลักสูตรและการสอน  มีความเหมาะสม ครอบคลุมเนื้อหาทุกด้านและเน้นการปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเป็นครูที่ดี  ด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ระยะเวลาในการฝึกเหมาะสม เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานในอนาคต  มีการประเมินและนิเทศการสอนของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตามกำหนดการที่วางไว้ด้านการพัฒนานักศึกษา  มีการจัดอบรมทั้งความรู้และคุณธรรมจริยธรรม ที่มีประโยชน์ให้แก่นักศึกษา ด้านการทำวิทยานิพนธ์ กำหนดให้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเป็นครูในอนาคต  สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาผู้เรียนในชั้นเรียน รวมถึงนักศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างดี ด้านความร่วมมือระหว่าง สสวท.กับมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเป็นอย่างดี ทำให้สามารถพัฒนานักศึกษาในโครงการ สควค. ให้เป็นครูวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคตได้  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างหน่วยงาน  ด้านงบประมาณ  มีงบประมาณสนับสนุนนักศึกษา ทำให้สามารถดำเนินการต่างๆได้ค่อนข้างชัดเจนและเป็นรูปธรรมขึ้น  อนาคตภาพที่เป็นทางร้าย  สรุปได้ดังนี้ ด้านการคัดเลือกนักศึกษา  เกณฑ์และกระบวนการสัมภาษณ์อาจยังไม่มีประสิทธิภาพอย่างชัดเจน  ควรใช้เกณฑ์ภาษาอังกฤษในระดับที่เหมาะสมและไม่มากจนเกินไป ด้านหลักสูตรและการสอน  ระยะเวลาในการศึกษาอาจน้อยไป  ด้านการทำวิทยานิพนธ์   เวลาในการทำวิทยานิพนธ์อาจไม่เพียงพอ ด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ   โรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพบางแห่งกำหนดภาระงานมากเกินไป  ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อเวลาในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา  จำนวนครั้งในการนิเทศหรือพบอาจารย์ที่ปรึกษาน้อยไป ด้านการพัฒนานักศึกษา  นักศึกษาในแต่ละโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะว่างไม่ตรงกันทำให้ไม่สามารถเข้าอบรมได้หลากหลายหัวข้อของการอบรม  ด้านการทำวิทยานิพนธ์ เวลาในการทำวิทยานิพนธ์ไม่เพียงพอ   มีข้อจำกัดการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้านความร่วมมือระหว่าง สสวท.กับมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  การสื่อสารระหว่างหน่วยงานในบางครั้งไม่ชัดเจนจะทำให้ได้ความร่วมมือที่ไม่สมบูรณ์  ขาดความต่อเนื่องของการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย  ด้านงบประมาณ  จำนวนนักศึกษาน้อยทำให้งบประมาณสนับสนุนที่มหาวิทยาลัยได้น้อยไม่เพียงพอในการดำเนินการด้านต่างๆที่เกี่ยวกับโครงการ สควค. และ อนาคตภาพที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด สรุปได้ดังนี้  ด้านการคัดเลือกนักศึกษา  ควรกำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยสูงขึ้น กระบวนการสอบข้อเขียน หรือสัมภาษณ์ควรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  อาจมีการลดเกณฑ์ภาษาอังกฤษแรกเข้าแต่กำหนดเวลาให้นักศึกษาพัฒนาภาษาอังกฤษให้ชัดเจน  ด้านหลักสูตรและการสอน   ควรมีการปรับลดหน่วยกิตการเรียนให้ลดลง   เป็นหลักสูตรเฉพาะทางมากขึ้นและลดการซ้ำซ้อนของหลักสูตรที่กว้างเกินไปในแต่ละสาขาวิชา  ด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ควรเพิ่มการติดตามของอาจารย์นิเทศก์จากมหาวิทยาลัย  ควรมีการจัดประชุมครูตัวแทนของโรงเรียนกับมหาวิทยาลัยเพื่อร่วมกันปรึกษาและตรวจสอบความต้องการนักศึกษา โครงการ สควค. ในแต่ละสาขาของแต่ละโรงเรียน  ด้านการพัฒนานักศึกษา  ควรมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในการหมุนเวียนกันจัดอบรมพัฒนานักศึกษา โครงการ สควค.ในหัวข้อต่างๆ   ด้านการทำวิทยานิพนธ์  ควรมีการอบรมการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการให้กับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์  คุณครูพี่เลี้ยง  และนักศึกษา จากผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสวท.  เพื่อให้การทำวิทยานิพนธ์ตรงตามกรอบที่ สสวท. ต้องการ  ด้านความร่วมมือระหว่าง สสวท.กับมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ควรมีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่ายเพื่อพัฒนาการสื่อสารองค์กรให้เข้าใจตรงกัน  มีการทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกัน ด้านงบประมาณ  ควรจัดสรรงบประมาณโดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่เพียงพอในการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัยแทนการจัดสรรงบประมาณจากค่าใช้จ่ายรายหัวของนักศึกษา

Abstract

The purpose of this study was to involve the scenario of the Promotion of Science and Mathematics Talented Teachers (PSMT): A Case Study of Rangsit University (B.E.2013-2016) in optimistic-realistic scenarios, pessimistic-realistic scenarios and most-probable scenarios can be delineated. The 14 informants were the dean of faculty of Education, the dean of faculty of Science, a program director and four permanent teachers of Master of Arts (Teaching Science), seven of heads of the Science Department or school mentors. The in-depth interview was the research instrument for the data collecting. The data was collected during the academic year 2013-2016 in 7 areas consisted of 1) admission screening procedures, 2) curriculum and teaching,3) practicum in teaching science, 4) student development, 5) thesis, 6) and cooperation among educational institutions and 7) budgets. The results of the content analysis revealed that the first: optimistic-realistic scenarios involve various facets including quality admission screening procedures, curriculum and teaching, a fair amount of time for professional experience training, continuous student assessment, academic and ethics trainings, use of learner-centered teaching methods, and cooperation among educational institutions. Learners are brought to exchange ideas and expertise to wider communities and encouraged to conduct research in teaching and studying relevant to their particular areas of interest. The second: pessimistic-realistic scenarios entail similar aspects, first, admission policies along with selection and interviewing procedures were not effective, and likewise a minimum English standard score is too high. It was also shown that insufficient time spent on dissertation and with an advisor, heavy workloads at training schools, including a lack of ample funding and cooperation with organizations were major difficulties imposed by inadequately designed curricula. As such, some students are unable to attend conferences and training courses because of available time slots not in line with their meeting schedules. And the third most-probable scenarios could be delineated as follows: it was advisable to set a higher GPA standard and slightly lower a minimum English standard score. Written and interview exams had to be administered and monitored more effectively. The curriculum should be designed to meet more specific purposes and extend learners’ area of specialization. A follow-up phase, meetings of teacher representatives and university training rotations were recommended. To ensure that dissertations conform to the uniform writing conventions, all learners, advisors, and preservice teachers were to be trained by the IPST experts or specialists. Lastly, organizational communication skills are vital to forming a greater working partnership between universities and organizations. As for budgeting, it was important that universities allocated total fixed costs instead of individual unit costs to suffice for effective management systems.

Download in PDF (371.02 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.14

How to cite!

กาญจนา จันทร์ประเสริฐ (2562). อนาคตภาพของโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: กรณีศึกษาศูนย์มหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ.2556 – 2562). วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(2), 1-14

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in