วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรมความเป็นประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

Asian Ethical Enhancing process for Mattayomsuksa Students in Ubon Ratchathani Province


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากระบวนการเสริมสร้างจริยธรรมความเป็นประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี (2) ประเมินประสิทธิผลของกระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนากระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลกระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูที่ทำหน้าที่ในการสอนและพัฒนาจริยธรรมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนของจังหวัดอุบลราชธานี ที่อาสาสมัคร จำนวน 41 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลกระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของครู แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม แบบวัดเจตคติเชิงจริยธรรม และแบบวัดพฤติกรรมเชิงจริยธรรม มีความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.87 ถึง 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent)

ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรมความเป็นประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการสร้างหลักสูตร เป็นการสร้างชุดกิจกรรม ประกอบด้วยชุดฝึก 3 ชุด คือ 1.ชุดฝึกเหตุผลเชิงจริยธรรม 2.ชุดฝึกเจตคติเชิงจริยธรรม และ 3.ชุดฝึกพฤติกรรมเชิงจริยธรรม 2) ขั้นตอนการพัฒนาครู 3) ขั้นตอนการพัฒนานักเรียน และ4) ขั้นตอนการวัดและประเมินผล โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การประเมินกระบวนการเสริมสร้างจริยธรรมนักเรียนที่สร้างขึ้น พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมครูอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังการใช้ชุดกิจกรรมนักเรียนมีจริยธรรมความเป็นประชาคมอาเซียนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were to: 1) develop the Asean ethical enhancing process for Mattayom Suksa students in Ubon Ratchathani province; 2) evaluate effectiveness of the Asean ethical enhancing process. The research procedure was devided into two phases; 1) develop the Asean ethical enhancing process; and 2) evaluate effectiveness of the Asean ethical enhancing process through implementation with 41 volunteers who were teacher ethics at Mattayom Suksa 1-3 in Ubon Ratchathani province and 40 students who were Mattayom Suksa 3 in Triam Udom Suksa Pattanakarn Ubon Ratchathani school. The research instruments were ethical enhancing assessment from, teacher satisfaction questionnaires, moral resoning test, ethical attitude test, and ethical behavior test with reliability from 0.87 - 0.93. The data were analyzed by using mean and standard deviation, and t-test for dependent.

The research findings were as follow: 1) the Asean ethical enhancing process for Mattayom Suksa students in Ubon Ratchathani province is divided into 4 stages: (1) the curriculum development consists of 3 training sets : 1.1) moral reasoning, 1.2) moral attitude, and 1.3) ethical behavior. (2) the teacher development process; (3) student development and (4) measurement and evaluation, expert opinions on the model were at the most appropriate level. 2) the effectiveness of the Asean ethical enhancing process after implementation found that appropriate, usefulness, possibilities, and accuracy were at the most level, the satisfaction of teachers towards the training were at the most level and after implementation found that the students had Asean ethical higher than before at .05 level of significance.

Download in PDF (457.61 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.7

How to cite!

วัชรี ชัยปรมาธิกุล (2562). กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรมความเป็นประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 85-99

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in