วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก และทักษะปฏิบัติด้านอัคคีภัยของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร

Effects of Using Learning Management Model Based on Experiential Learning for Enhancing Knowledge, Awareness, and Practical Skills on Fire Safety of Elementary School Students Grade 6 in Bangkok Metropolitan Areas Schools


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความรู้ความตระหนักและทักษะปฏิบัติด้านอัคคีภัยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในสังกัดของกรุงเทพมหานครจำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ แบบทดสอบความรู้ด้านอัคคีภัย แบบวัดความตระหนักด้านอัคคีภัย และแบบประเมินทักษะปฏิบัติด้านอัคคีภัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีการทดสอบก่อน – หลัง และมีกลุ่มควบคุม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ Hotelling’sT2 การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามแบบทางเดียว และการทดสอบค่าทีสำหรับประชากร 1 กลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้และความตระหนักด้านอัคคีภัยของนักเรียนหลังจากการใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้ด้านอัคคีภัยของนักเรียนกลุ่มที่ใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความตระหนักด้านอัคคีภัยของนักเรียนกลุ่มที่ใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ทักษะปฏิบัติด้านอัคคีภัยของนักเรียนกลุ่มที่ใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The research purposes was to study the effects of using experiential-based learning model for promoting students’ knowledge, awareness and practical skills on fire safety. The samples were 67 sixth grade students of the school in the responsibility of the Bangkok Metropolitan Administration. The model based on experiential learning, knowledge test on fire safety, awareness scale on fire safety and assessment forms on fire safety skills. The research was pretest posttest Control group design, and the data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Hotelling’sT2, One-way MANOVA and One-Sample t-test. The research results revealed that 1) the knowledge and awareness on fire safety of students after using the model was higher than before using at the significant level of .05 2) the knowledge on fire safety among students who used the model was higher than students who did not use the model significantly at the significant level of .05, while the awareness on fire safety among students who used the model were not higher than the students who did not use the model, 3) the skills on fire of students after using the model was higher than the criteria of 70% at the significant level of .05.

Download in PDF (398.46 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.1

How to cite!

กันต์ธสิทธิ์ พิมพ์สอาด, & อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก และทักษะปฏิบัติด้านอัคคีภัยของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 1-13

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in