วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลวิธีการสอน แบบการทำนาย การสังเกต และการอธิบาย เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

The Study of Grade 11 Students’ Understanding of the Nature of Science by using the Predict-Observe-Explain Strategy in Title Electricity and Magnetism


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลวิธีการสอนแบบการทำนาย-สังเกต-อธิบาย เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (POE)  กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก ด้วยกลวิธีการสอนแบบ POE จำนวน 6 แผน และแบบวัดธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่ปรับจาก VNOS-C ลักษณะเป็นแบบเขียนตอบและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และอนุทินสะท้อนความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า

1) ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลวิธีการสอนแบบ POE ประเด็นที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุด คือ วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ถูกกำกับหรือเหนี่ยวนำด้วยทฤษฎีและวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน ในทางกลับกัน ประเด็นส่วนใหญ่ที่นักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด คือ วิทยาศาสตร์เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

2) ระหว่างการจัดกิจกรรม ประเด็นที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจมากที่สุด โดยจำแนกตามระดับความเข้าใจ ได้แก่  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และวิทยาศาสตร์เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และประเด็นที่นักเรียนเข้าใจแต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงเป็นคำอธิบายของตนเองได้ คือ กฎและทฤษฎีเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน

3) หลังการจัดกิจกรรม ประเด็นที่นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจได้มากที่สุด คือ วิทยาศาสตร์เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่นักเรียนมีความเข้าใจแต่ยังให้เหตุผลประกอบไม่ชัดเจน คือ วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ถูกกำกับหรือเหนี่ยวนำด้วยทฤษฎี

Abstract

The purposes of this study were to understanding the nature of science (NOS) of Electricity and Magnetism by the Predict-Observe-Explain strategy (POE). The particants were 20 students in grade 11 on the second semester of the academic year 2016. The research instruments were 6 lesson plans of POE strategy, questionnaire for the measurement of VNOS-C, semi-structured interview, and the test about understanding the nature of science.

The results revealed that

1. Before the POE activities, the issues that most students were most misleading included the human activities that were directed by science theory and complicated in society. The least misleading was the sciences that explain the phenomenon.

2. During the POE activities, the issues that most students understood the most, which were classified by the order of understanding, included scientific knowledge that requires empirical evidence and science that explains natural phenomena. In addition, students understood the issues, but they could not link to their description of the rules and theories as scientific knowledge is different.

3. After the POE activities, the issues that most students understood most accurately was science that explains natural phenomena and scientific knowledge that can be changeable. Moreover, the issues that the students did not understand clearly was science as one of the human activities that are directed or induced by the theory.

Download in PDF (362.83 KB)

How to cite!

รุ่งนภา บุญเกี๋ยงวงค์, อรรถพล อ่ำทอง, & ธิติยา บงกชเพชร. (2561). การศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลวิธีการสอน แบบการทำนาย การสังเกต และการอธิบาย เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(2), 82-92

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in