การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี
The Development of English Language Teachers Competency on Learning Management by Using the Lesson Study of Elementary Schools in Nonthaburi Province
บทคัดย่อ
จุดประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาจำนวน 6 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา 3 โรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยมีผู้วิจัยในฐานะบุคคลภายนอกและครูทั้ง 6 คนในฐานะผู้ปฏิบัติงาน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ก่อนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และ ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินการพัฒนาบทเรียนร่วมกันในระยะที่ 2 นั้นแบ่งออกเป็น3 ขั้นคือ (1) วางแผน (2) สอนและสังเกต (3) สะท้อนผล ผลการวิจัยประกอบด้วยข้อค้นพบที่เกิดจากการใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาตนเองของครูอย่างต่อเนื่อง ข้อสำคัญคือครูต้องประยุกต์แนวคิดและแนวทางให้เข้ากับสถานการณ์จริงและกระทำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร
Abstract
The objectives of this study were 1) to enhance teachers' competencies on learning management using Lesson Study of English teachers in elementary schools in Nonthaburi and 2) to study the guidance for the implementation of best practices using Lesson Study in schools in Nonthaburi. The study was participatory action research. The research participants were 6 English teachers from 3 elementary schools in Nonthaburi province, selected by purposive sampling technique. The researcher played the outsider role and 6 teachers were practitioners. The research was divided into 2 phases; 1) before using Lesson Study and 2) between using Lesson Study. There were 3 processes in phrase 2 which were (1) planning the lesson, (2) teaching and observing the lesson and (3) reflecting the lesson on its effects. The findings from this research include a discussion of the elements contained in Lesson Study and the guidance for the implementation of best practice that may be beneficial to incorporate into continuing professional teacher development programs; however teachers need to adapt them to actual contexts to achieve instructional development and do it regularly as an organizational culture.
How to cite!
ศิตา เยี่ยมขันติถาวร (2561). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาอังกฤษโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(2), 70-81
Indexed in