แนวทางการพัฒนาหลักสูตรธุรกิจศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี
The Guidelines to Develop the Business Curriculum for High School in accordance with School Contexts in Pathum Thani Province
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรธุรกิจของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรธุรกิจศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาธุรกิจ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 200 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน ผู้บริหาร จำนวน 2 คน และครูผู้สอนรายวิชาธุรกิจในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรธุรกิจของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง มีรายละเอียด ดังนี้ ด้านสภาพข้อมูลพื้นฐาน (x = 3.35) ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระ (x = 3.30) ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ (x = 3.28) ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (x = 3.23) และ ด้านการประเมินผลการใช้หลักสูตร (x = 3.19) ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรธุรกิจศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี มีดังนี้ 2.1) สภาพข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ควรทำการสำรวจความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง และสำรวจความต้องการของชุมชน 2.2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เน้นให้มีการสอนทักษะอาชีพเพิ่มเติม โดยจัดให้เป็นวิชาบังคับเลือก หรือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์โดยสอดแทรกเนื้อหาสาระเกี่ยวกับธุรกิจศึกษาในลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนระหว่างกลุ่มวิชา 2.3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร เน้นไปที่งานวิชาชีพที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น งานช่าง งานเกษตร งานประดิษฐ์ งานคหกรรม ฝึกให้มีการใช้ทักษะการปฏิบัติ เน้นกระบวนการเรียนการสอนที่นักเรียนลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง 2.4) การนำหลักสูตรไปใช้ ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทำความเข้าใจกับครูผู้สอนธุรกิจศึกษาก่อนการสอนจริงและการวางแผนการสอนธุรกิจศึกษาร่วมกันระหว่างครูผู้สอนกับชุมชนและสถานประกอบการ และ 2.5) การประเมินผลการใช้ของหลักสูตร ควรทำการประเมินตามกระบวนการประเมินความสอดคล้องให้ครอบคลุม จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การนำไปใช้ นอกจากนี้ควรมีการประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ของผู้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร ด้านความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ และการใช้สื่อและวัสดุการสอน รวมถึงสมรรถภาพของผู้เรียนด้วย
Abstract
The research objectives are 1) to analyze the conditions suggest of the use of business curriculum, Basic Education Act 2551, and 2) to guidelines for the curriculum development in business courses at high school level, in accordance with the high schools context in Pathum Thani Province. The target group for data collection includes 200 teachers in business curriculum in high schools in Pathum Thani Province. Those targeted for in-depth interviews include 2 educational supervisors, 2 executives and a business teacher in secondary schools in Pathum Thani Province, the total of 5 persons. The research instruments are questionnaires and in-depth interview. The analysis used descriptive statistics are frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results showed that:
1. The problem of using the core curriculum of business curriculum, Basic Education Act in 2551, in all five sides, problems condition in overall is medium (x = 3.27). Considering an individual item, thatall items are in moderate problems conditions: general condition of the school curriculum
(x = 3.35), content scopes and focus (x = 3.30), curriculum implementation (x = 3.28), course objectives
(x = 3.23), and curriculum evaluation (x = 3.19), respectively.
2. The business curriculum development, for high school level, in accordance with the context of high schools in Pathum Thani. Business Teachers should conduct a need assessment to survey the needs of students and parents, community. The curriculum objectives should focus on providing skills employability rather than compulsory subjects the course content should focus on the necessary professional development such as agriculture, handicrafts, and home economics, to enhance practical skills. The learning process should provide students with actual practice and learning. Business curriculum should organize the workshop for business teacher in order to understand the business curriculum. Additionally, the local and the business owners should be invited to participate in business curriculum design process. The course evaluation should be assessed by covering curriculum objectives, context, implementation, student’s performance, the relationship of other subjects and the use of instructional tools and materials.
How to cite!
ณภัทร์พรรณ์ ภูมิเรศทศสุนทร, นงลักษณ์ มโนวลัยเลา, & ณัฏฐ์วิชิดา เลิศพงศ์รุจิกร. (2561). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรธุรกิจศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(1), 45-55
Indexed in