วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การวิเคราะห์อภิมานรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดขั้นสูง

Meta-Analysis of Instructional Model for Enhancing Higher Order Thinking Abilities


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในด้านข้อมูลทั่วไปของงานวิจัย ด้านเนื้อหาสาระในงานวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และด้านคุณภาพงานวิจัย ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดขั้นสูง 2) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดขั้นสูง โดยการวิเคราะห์อภิมาน ตัวแปรอิสระได้แก่ คุณลักษณะของงานวิจัยด้านข้อมูลทั่วไป ด้านเนื้อหาสาระในงานวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัยและด้านคุณภาพงานวิจัย และตัวแปรตาม ได้แก่ ค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass โดยวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนการสอนระหว่างตัวแปรคุณลักษณะของงานวิจัยที่แตกต่างกัน โดยใช้ Independent t-test ,One way ANOVA และการทดสอบภายหลังแบบ Sceffe

ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า

1. สภาพงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2556 ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพาผลิตงานวิจัยมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยระดับปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน และเทคโนโลยีการศึกษา เนื้อหาวิชาที่ศึกษามากที่สุด คือ วิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ซึ่งผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานมากที่สุด ส่วนผู้เรียนมีบทบาททำกิจกรรมกลุ่มโดยผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กันมากที่สุด สื่อการสอนพบว่าใช้สื่อที่เป็นเทคนิคและวิธีการมากที่สุด เน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง วิธีการวัดและประเมินโดยใช้การทดสอบมากที่สุด แบบแผนงานวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ แบบ One group pretest-posttest design โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Purposive Sampling งานวิจัยส่วนใหญ่ตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง สถิติทดสอบที่ใช้ในงานวิจัยมากที่สุด คือ t-test และระดับคุณภาพงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี

2. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อค่าขนาดอิทธิพลได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน สถานการณ์การเรียนรู้ และวิธีการวัดและประเมินโดยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดขั้นสูงควรใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่มและเรียนรู้จากการปฏิบัติในสถานการณ์จริง และวิธีการวัดและประเมินควรใช้การทดสอบควบคู่กับการประเมินการปฏิบัติ

Abstract

The purposes of the research were to 1) study the status of the research which studies about an instructional model for enhancing higher-order thinking abilities including general, substantive, research methodology and research quality and 2) synthesis the research in an instructional model for enhancing higher order thinking abilities by meta analysis. The independent variables were to moderator including general, substantive, research methodology and research quality. The dependent variable was effect sizes of research. Data was collected by employing quality research evaluation form and research characteristic record form. After that data was analyzed by using Glass Method. They were analyzed descriptive statistics and estimated statistics; Independent t-test, One way ANOVA and Sceffe method.

The results of research synthesis were as follows:

1. Most of researches were in A.C. 2000 – 2013, from Burapa University and mostly master’s degree thesis in the field of Curriculum and Instruction and Education Technology. Instruction focused on Cognitivism Theory, which in high school, and concentrate on the subject matter of science. In the activities of instruction, the instructor mostly acted as a coordinator while in the activities of students, the students mostly acted in small group discussion about real situations. However, technique media and assessment by testing were popularly applied. The one group pretest-posttest design was mostly used which applied purposive sampling method. The hypotheses mostly were direction. Most research applied t-testand had quality in good level.

2. The research characteristics which influence to the effect sizes were learning theory, activities of instructor, activities of learner, situation of learning and assessment. Instructional model for enhancing higher-order thinking abilities should be Cognitivism Theory. In the activities of instruction, instructor acted as a facilitator while students acted in a small group discussion about real situations. Assessment by testing was together with performance assessment.

Download in PDF (394.63 KB)

How to cite!

ดิฐารัตน์ ลีวรางกุล, สุนทรา โตบัว, & ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์. (2561). การวิเคราะห์อภิมานรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดขั้นสูง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(1), 24-34

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in