วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการถอดความรู้ด้านเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: กรณีศึกษา กลุ่มมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Effectiveness of the Tacit Knowledge Method by Using Student Centered Learning Technical: Case Study of Humanities and Social, Rangsit University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อถอดความรู้ด้านเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการติดตามผลของการนำกระบวนการถอดความรู้ด้านเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยที่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหารูปแบบเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจาก 28 คณะวิชา 2) อาจารย์กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 10 คณะวิชา รวมจำนวนทั้งสิ้น 340 คน ที่นำกระบวนการถอดความรู้ด้านเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไปโดยวิธีการกำหนดโควต้าร้อยละ 5 ได้อาจารย์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 17 คน และ 3) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่มีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจากอาจารย์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 17 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1015 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างด้านการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบบันทึกการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบสัมภาษณ์ผู้สอนเกี่ยวกับคุณลักษณะทักษะที่จำเป็นของผู้เรียน และแบบประเมินความพึงพอใจผู้เรียน ซึ่งผ่านการหาคุณภาพและมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเป็น .920 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ทิศทางและแนวโน้มของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองและบทบาทสมมติ การอภิปรายกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้านการวางแผนการสอน เทคนิควิธีการสอนและพฤติกรรมผู้สอน มีค่าคะแนนความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 4.55 สำหรับผลการศึกษาทักษะความรู้ความเข้าใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ และทักษะด้านคุณธรรมของผู้เรียน พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

Abstract

The purpose of this research aims to paraphrase tacit knowledge method by using student-centered learning technical and monitoring implementation process of technical teaching to focus on the student-centered learning of teachers from faculties of Humanities and Social Sciences group. Samples used in this research were 1) teachers from 28 faculties, using 5% of teacher’s quota from 10 faculties, 2) the number of teachers were 340 persons from the faculty of Humanities and Social Sciences group and then used technical teaching that focused on the student-centered learning and 3) 1015 students who enrolled in courses using student centered learning technical. The instruments used in this research included structured interviews focused on student-centered learning technical, teachers’ interview form in features, required skills and student satisfaction questionnaires which control the quality and the reliability at .920. The data was analyzed by content analysis and descriptive statistics with the collection of arithmetic mean, percentage, and standard deviation.
The results showed that, trends of using student centered learning technical were participatory learning, simulation, whole class discussion and case study. The student satisfaction to using student centered learning technical was the highest score level at 4.55 in 3 aspects; planning instruction, teaching methods and techniques and instructor behavior. The results of teacher interview were founded that cognitive skills, problem-solving skills relationship skills and responsible virtues and skills of the students were in good shape.

Download in PDF (373.27 KB)

How to cite!

อารีรัตน์ แย้มเกษร (2560). ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการถอดความรู้ด้านเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: กรณีศึกษา กลุ่มมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 156-169

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in