วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาระบบช่วยสอนเชิงปรับตัวด้วยตนเองโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ

The Development of Self-Adaptive Learning System Using Discovery Learning Model


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาระบบช่วยสอนเชิงปรับตัวด้วยตนเองโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกใช้เครื่องสถานะจำกัด (Finite State Machine) เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้โดยชุดคำถามจะปรับตัวไปตามกระบวนการของเครื่องสถานะจำกัดที่ได้ออกแบบไว้นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้นำเอาหลักการเรียนรู้โดยอาศัยการค้นพบ (Discovery Learning) ในรูปแบบของการชี้แนะแบบหลายระดับมาใช้ ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการชี้แนะแบบกว้างโดยการแนะนำให้ผู้เรียนทบทวนบทเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนในกรณีที่ไม่สามารถตอบคำถามได้ และหากไม่สามารถตอบได้หลังจากได้รับคำชี้แนะแล้วระบบจะนำเสนอการใบ้คำตอบที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้และใช้การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้นำเสนอการวัดผลการเรียนรู้จากระยะเวลาที่ใช้ในการตอบคำถาม จำนวนตัวช่วยที่ใช้ และระดับความยากง่ายของข้อที่ตอบถูกด้วยเส้นโค้งการเรียนรู้ (Learning Curve) แบบเป็นรูปธรรม ซึ่งเอื้อต่อการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ผลการวิจัยพบว่าการนำระบบช่วยสอนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาระบบเครือข่าย แบ่งเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน โดยเลือกแบบเจาะจงพบว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างอิสระ เกิดการพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้เรียนทราบถึงพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้เป็นอย่างมาก และก่อให้เกิดการเตรียมตัวในการเรียนในครั้งต่อไปได้เป็นอย่างดี

Abstract

The objectives of this study were to develop a self-adaptive learning system using discovery learning approach. In this study, we used Finite State Machine to drive the learning process by means of asking questions which will be ordered according to the designed state machine. This solution will be combined with guided discovery learning theory, which is presented in the form of multilevel-suggestion. If the students could not answer the question, they would get a broad guideline which instructed them to review the related lesson on their own. However, if they still could not answer the question, they would receive more specific hints.Using this approach, the students will get to develop the knowledge systematically by means of critical thinking.In addition to the study mechanism, we also proposed using learning curve as a feedback represents students’ knowledge: derived from the time taken to complete the question, the number of hints used, and the level of difficulty of the question answered correctly. We believe that this learning curve feedback will stimulate student’s attention in learning.
The research results showed that the conducted an experiment using the proposed learning system with the Information Technology students taking computer network class at Thepsatri Rajabhat University. These students are selected using purposive sampling and are divided into three groups: smart, average, and poorly performed students. The result shows that the students can learn freely and systematically from the system and are more prepared for the next class because of the provided learning curve feedback.

Download in PDF (1.2 MB)

How to cite!

สมโภชน์ สายบุญเรือน, นวพร วิสิฐพงศ์พันธ์, & สรเดช ครุฑจ้อน. (2560). การพัฒนาระบบช่วยสอนเชิงปรับตัวด้วยตนเองโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 107-122

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in