วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์: กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โรงเรียนบ้านห้วยทราย จังหวัดเพชรบูรณ์

Development of Quality Mathematics Teaching and Learning: A Case Study of Cooperative Learning and Constructivism at Bann Huaysai School,ChangwatPetchabun


บทคัดย่อ

การวิจัยกรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (2) ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยพิจารณาจากผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้รายบุคคล(Constructivism) ของนักเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัตติวิสต์ เรื่องความน่าจะเป็น จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน(3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (4)แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนและ (5) แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนของครู โดยผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้จัดการเรียนการสอนเอง ได้ขอความอนุเคราะห์จากครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียนให้เป็นผู้สังเกตการจัดการเรียนการสอนผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) นักเรียนมีคะแนนการทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มขึ้นหลังการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (2) นักเรียนส่วนใหญ่ที่มีพัฒนาการของคะแนนแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือสูง มีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการของคะแนนแบบฝึกทักษะการเรียนรู้รายบุคคลสูงขึ้นด้วย (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (4)จากการสัมภาษณ์นักเรียนที่ทำคะแนนได้ดีเมื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือและทำคะแนนได้ดีขึ้นเมื่อทำกิจกรรมรายบุคคล นักเรียนอธิบายว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จึงมีความมั่นใจในการทำกิจกรรมรายบุคคลมากขึ้น (5) ผลการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่อการจัดการเรียนการสอนของครูอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ผลการวิจัยจึงได้สนับสนุนความมีประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

Abstract

The objectives of this case study were to (1) develop quality of an eclectic teaching method and learning activities in mathematics with the use of learner-centered lesson plan model based on cooperative learning and constructivism (2) evaluate the quality of the developed teaching method and learning activities in mathematics by learners’ learning performance and learning achievements in mathematics at secondary 3 students at Baan HuaySai School, Petchabun province .There were five research instruments in the study (1) nine cooperative learning/ constructivism-based mathematics lessons plans on the topic of probability, (2) pre- and post- achievement test, (3) a questionnaire on students’ opinions on the use of cooperative learning and constructivism in nine lesson plans, (4) a set of interview questions on students’ learning experience, (5) a classroom observation form for peer teachers. The results of the study pointed to (1) the student who scored high on the nine cooperative learning/ constructivism-based mathematics lesson plans tended to score high on the post achievement tests, (2) those who scored high on their learning performance via cooperative learning tended to score high on their learning achievement via constructivism, (3) the students were very positive about the nine constructed lesson plans based on cooperative learning and constructivism, (4) the students clarified their satisfaction with cooperative learning and constructivism in their interviews that cooperative learning enabled them to share their learning with their peer and in turn boosted their confidence in doing constructivism-based individual work, and (5) the peer teacher’s classroom observation revealed a high level of satisfaction. All these results appear to support quality mathematics teaching-learning with the use of cooperative learning and constructivism at the secondary 3 level.

Download in PDF (347.57 KB)

How to cite!

จักรพงศ์ จันทรจิต, & รุจา ผลสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์: กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โรงเรียนบ้านห้วยทราย จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 23-33

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in