วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based learning) ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ในการเรียนรู้ของนักเรียนเกรด 4 ที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

Effects of Inquiry-Based Learning Approach on Learning Achievement and Learning Satisfaction of Grade Four Students Towards Science


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based learning) ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนเกรด 4 ที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ การศึกษานี้ได้ใช้การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Clustered random sampling) เพื่อคัดเลือกนักเรียนเกรด 4 จำนวน 2 กลุ่มจากนักเรียน 3 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test), แบบสอบถามและแบบสังเกต การทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 5 สัปดาห์ติดต่อกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation), การทดสอบความแตกต่างแบบจับคู่และการทดสอบแบบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน (Paired and independent t-test) การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างวิธีการวัดผลก่อนและหลัง (ตารางที่ 1) นอกจากนั้น การทดสอบความแตกต่างแบบจับคู่จะให้ค่าที่มีนัยสำคัญทางสถิติ p=0.00 (<0.05) ในทำนองเดียวกัน ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 4.61 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้อย่างมากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบนี้ทำให้นักเรียนได้คะแนนสูงและทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้อีกด้วย

Abstract

The purpose of this study was to examine the effects of Inquiry-based learning approach on learning achievement and learning satisfaction of grade 4 students in science. The study used quasi-experimental design. A clustered random sampling was used to select 2 sections out of 3 sections of grade four students. The research instruments implemented in this study were achievement test, questionnaire and observation form. The experiment was carried out for 5 consecutive weeks. The statistics used for data analysis weremean, standard deviation, paired and independent t-test.The analysis of the result on learning achievement showed that there was significant difference between means of pretest and posttest (Table 1) and paired t-test, if also gave the significant value of p=0.00 (<0.05). Similarly, the overall mean of the student learning satisfaction was 4.61 which indicated that students were extremely satisfied with inquiry based learning approach. The results of the data showed that the Inquiry-based learning approach was effective in achieving high score and as well the learning satisfaction of the students in science.

Download in PDF (346.82 KB)

How to cite!

Pema Yangden (2560). ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based learning) ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ในการเรียนรู้ของนักเรียนเกรด 4 ที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 1-11

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in