การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ยาแบบไทเทรชัน
Development of the E-learning Courseware Media on Drug Analysis Titration Technique
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสอนปฏิบัติการในการวิเคราะห์ยาด้วยเทคนิคไทเทรชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 129 คนที่เรียนวิชาเภสัชคุณภาพ 1 ระหว่างช่วงภาคการศึกษาที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2557 การศึกษานี้ได้ทดสอบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นและประเมินเจตคติและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการสอนผลการวิจัยการพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์การวิเคราะห์ยาด้วยเทคนิคไทเทรชัน ประกอบด้วย5เรื่องได้แก่ เรื่องเครื่องแก้ว สำหรับการทำไทเทรชัน เรื่องเทคนิคการปิเปต เรื่องเทคนิคการใช้บิวเรต เรื่องเทคนิคไทเทรชัน และเรื่องเครื่องชั่งวิเคราะห์และเทคนิคการชั่ง มีระยะเวลาเฉลี่ยต่อหัวข้อเรื่องอยู่ระหว่าง 4.30- 12 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังจากเรียนด้วยสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์และฝึกปฏิบัติทั้ง 5 เรื่อง พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหลังการเรียนผ่านสื่อการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยพบว่าสื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนจดจำและปฏิบัติได้ง่ายและถูกต้องมากกว่าการศึกษาจากหนังสือปฏิบัติการ นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีระดับความพึงพอใจและเจตคติที่ดีต่อสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ โดยพบว่ามีค่าคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก
Abstract
The purpose of this study was to develop the e-learning courseware media for laboratory practices on titration techniques for drug analysis. The subjects were 129 third-year undergraduate pharmacy students who took the course in Pharmaceutical Quality Control Lab I. during the first semester of the academic year 2014. The effectiveness of the courseware was evaluated for learning achievement. The attitude and learner’s satisfaction towards the developed courseware was also explored. The research of developing e-learning courseware media for drug analysis titration techniques consisted of 5 topics; Glassware for titration, Pipet technique, Techniques of using burette, Technique of titration, Analytical balance and weighing techniques. The range of time used for each topic was within 4.30 to 12 minutes that appropriate for learning and practicing. The effectiveness of the courseware in terms of learning achievement was high as seen from a significant difference between the pretest and posttest scores at the level 0.01 for every topic. From the attitudes and learners’ satisfaction questionnaire, it was found that the highest satisfaction score was the learning from courseware gave the better understanding than learning from the lab manual and more practicable.
How to cite!
เพ็ญศรี ทองนพเนื้อ, สวาท กุลมา, ฐิตารีย์ ธีรชยานันท์, & ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี. (2560). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ยาแบบไทเทรชัน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(1), 72-81
Indexed in