วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาผลการใช้แบบแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรม ที่มีต่อสมรรถนะของครู ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

The Effect of Using a Distance Workshop Training with Post-Training Supervisory Follow-Up Model in the Topic of Developing Science Teacher’ Competency for Learning Management to Develop Thinking Ability of Basic Education Students in Bangkok Metropolis and Vicinity


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรม 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรม 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดของนักเรียนที่ได้รับการสอนของครูวิทยาศาสตร์ที่เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรมระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรม ในการด????ำเนินการวิจัยทดลองใช้แบบแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรมกับครูวิทยาศาสตร์จ????ำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและนักเรียนของครูเป็นกลุ่มตัวอย่างจ????ำนวน 1,237 คน เก็บข้อมูลคะแนนสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการได้รับการอบรม และคะแนนความสามารถในการคิดของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนกับครูที่สอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาการคิดของนักเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละความก้าวหน้า ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) แบบแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรมประกอบด้วยกิจกรรม 6 กิจกรรม ด????ำเนินการต่อเนื่องกันในช่วงเวลา 8 เดือน ประกอบด้วย (1) การศึกษาเอกสารภาคความรู้ด้วยชุดฝึกอบรมทางไกล (2) การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเผชิญหน้า (3) การฝึกเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่แทรกกิจกรรมส่งเสริมการคิด (4) การนิเทศผลงานการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (5) การนิเทศพฤติกรรมการสอนเป็นการนิเทศแบบประชุมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน และ (6) กิจกรรมการประชุมสัมมนาสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน 2) ครูวิทยาศาสตร์ที่เข้ารับการอบรมมีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียนหลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และติดตามให้การนิเทศหลังการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม โดยมีผลค่าร้อยละความก้าวหน้า ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด และการสอนเพื่อพัฒนาการคิด และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียนเท่ากับ 4.10 และ 10.70 ตามล????ำดับ 3) นักเรียนที่ได้รับการสอนจากครูวิทยาศาสตร์ที่เข้ารับการอบรมมีค่าคะแนนร้อยละความก้าวหน้าของความสามารถในการคิดเท่ากับ 0.35 4) ครูวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรมมีความพึงพอใจต่อแบบแผนการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

This research objectives were to 1) develop a distance workshop training with post-training supervisory follow-up model, 2) to compare science teacher’s competency for learning management to develop thinking ability of students between before and after distance workshop training and post-training supervisory follow-up, 3) compare students’ thinking ability between before and after learning with the teachers who passed distance workshop training and post-training supervisory follow-up, and 4) study teachers’ satisfaction after distance workshop training and post-training supervisory follow-up. This experimental research design used the workshop training and post-training supervisory follow-up model trailed with 42 science teachers obtained by purposive sampling and 1,237 students of these teachers. Teachers’ competency score for learning management to develop thinking ability of students between before and after the workshop training and students’ thinking ability between before and after leaning with the teachers who taught with learning management plans to develop thinking ability of students were collected. Statistics used for data analysis were percentage of progress in learning, mean, and standard deviation.

The research results: 1)the distance workshop training with post-training supervisory follow-up model composed of six activities conducted continuously in eight months including (1) studying distance training package (2) face-to-face workshop (3) training of writing learning management plan with activity promoting thinking (4) learning management plans supervisory (5) teaching behavior supervisory as groups for learning together and (6) seminar activity for reflect learning together, 2) science teacher’ competency for learning management to develop thinking ability of students after distance workshop training and post-training supervisory follow-up was significantly higher than that of before, in which percentage of progress of understanding about thinking and teaching to develop thinking, and ability for learning management to develop thinking ability of the students were 4.10 and 10.70, respectively, 3) the percentage of students’ thinking ability after learning was 0.35, and 4) the science teachers’ satisfaction on the model after distance workshop training and post-training supervisory follow-up was at a high level.

Download in PDF (356.09 KB)

How to cite!

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2560). การศึกษาผลการใช้แบบแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบทางไกลผนวกการนิเทศหลังการอบรม ที่มีต่อสมรรถนะของครู ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(1), 60-71

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in