A Study of Cultural Differences Between Thai and Japanese Language Teachers in the Secondary Schools of Educational Service Area Offices 3 and 4: Hofstede’s Cultural Dimensions Theory
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์ชาวไทยและชาวญี่ปุ่นที่สอนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีมิติทางวัฒนธรรมของฮอฟสเตดเป็นทฤษฎีหลักในการศึกษา วัตถุประสงค์ในการศึกษาคือเพื่อระบุปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์ชาวไทยและชาวญี่ปุ่นที่สอนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาส????ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 และ 4 ตามหลักทฤษฎีมิติทางวัฒนธรรมของฮอฟสเตด สำหรับวิธีการดำเนินวิจัย ผู้วิจัยศึกษาด้วยวิธีการวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ พร้อมทั้งได้น????ำปัจจัยความต่างทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศมาเปรียบเทียบกัน ในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 47 คน เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 และ 4 ของประเทศไทย อาจารย์ชาวไทยจ????ำนวน 5 คนและอาจารย์ชาวญี่ปุ่น 5 คนที่เคยนำมาใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยคำถามทั้งหมด 15 ข้อ ซึ่งอิงตามหลักทฤษฎีมิติทางวัฒนธรรม 6 ข้อของฮอฟสเตด ในส่วนของการรวบรวมข้อมูลและการเปรียบเทียบ ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ และการวิจัยในเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ผลการศึกษาวิจัยจะส่งผลให้ครูผู้สอนภาษาชาวญี่ปุ่นมีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถเข้าใจสถานการณ์การสอนภาษาญี่ปุ่นของประเทศไทยในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการศึกษายังช่วยส่งเสริมทักษะการคิดเพื่อการพัฒนาของครูผู้สอน ในการเตรียมตัวเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครูสอนภาษาชาวญี่ปุ่นและชาวไทย โดยเป็นไปในแนวทางความร่วมมือที่ผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเพื่อนร่วมงานในบริบทวัฒนธรรมการสอนที่แตกต่างกัน
Abstract
This paper reports a study of cultural differences between Thai and Japanese language teachers by using Hofstede’s cultural dimensions theory. The objective of this research is to identify the factors of cultural differences between Thai and Japanese language teachers in the secondary schools of educational service area office 3 and 4 based on Hofstede’s cultural dimensions theory.A mixed of qualitative and quantitative research were used in this research and the factors of cultural dimensions of the two countries have been compared.The population of this research is 47 Japanese language teachers in the secondary schools of Educational Service Area Office 3 and 4 in Thailand. Five Thai teachers and five Japanese native teacherswere used as the sample of this study. The research tool was interview that included 15 questions based on Hosftede’s Six Cultural Dimension Theory. The data was collected and compared by qualitative content analysis and by quantitative analysis using mean and percentage.
The findings of the study show significant differences between Thailand and Japan cultures. The research results will provide teachers with adequate data that they can get a better understanding of the current state of Japanese language teaching in Thailand. Furthermore, the findings can enhance teachers’ development of thinking skills how both teachers can prepare themselves to work effectively together in a collaborative way with culturally diverse colleagues in the different cultural teaching contexts.
How to cite!
Hashi, T., & Lertlit, S. (2560). . Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 11(1), 13-25
Indexed in