วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Relationship Between Game-Based Learning and Mathematics Achievement of Grade Seven Students in a Middle Secondary School in Bhutan


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ผ่านเกม (Game-based learning) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics achievement) ของนักเรียนเกรด 7 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศภูฏาน การวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2558 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาต้อนต้นแห่งหนึ่งในประเทศภูฏานเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยใช้แบบวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) นักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 7 จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งหมด 70 คน โดยกำหนดให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างทดลอง (Experimental group) และอีกห้องเป็นกลุ่มตัวอย่างควบคุม (Control group) กลุ่มตัวอย่างทดลองมีการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านเกม ขณะที่กลุ่ม ตัวอย่างควบคุมเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเดิม (Traditional teaching approach) การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้โปรแกรม SPSS 21.0 ส่วนการค????ำนวณแต่ละกลุ่มตัวอย่างได้ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic means) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviations) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทดลองดีกว่ากลุ่มตัวอย่างควบคุมมาก โดยค่าเฉลี่ยความแตกต่าง (Mean difference) ของกลุ่มตัวอย่างทดลองอยู่ที่ระดับ 9.29 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างควบคุมอยู่ที่ระดับ 3.40 ซึ่งมีค่าสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างควบคุมมาก ข้อมูลที่ได้ยืนยันว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างการเรียนรู้ผ่านเกมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งนี้การวิจัยเกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์เป็นระยะเวลา 2 เดือนได้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกันนักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติที่ดีต่อการใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านเกม ก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทดลองเท่ากับ 2.06 และหลังทดลองค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ปรากฏว่าค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 2.55 แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ผ่านเกมมีผลเชิงบวกต่อเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าควรสนับสนุนให้ผู้บริหารโรงเรียนในประเทศภูฏานและประเทศอื่น ๆ นำวิธีการเรียนรู้ผ่านเกมมาประยุกต์ใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Abstract

The aim of this study was to determine the relationship if any, between Game-Based learning and mathematics achievement of grade seven students in a middle secondary school in Bhutan. The research using quasi-experimental design, was carried out in 2015 in one of the middle secondary schools in Bhutan over a two-month period.The participants consisted of 70 seventh graders in two classes. One class was assigned to be the experimental group and the other the control group. The experimental group learned using game-based learning approach, while the control group learned using a traditional teaching approach. The data obtained in the study were analysed by the computer program SPSS 21.0. Arithmetic means and standard deviations were calculated for each group. The result showed that the learning achievement of the students in the experimental group was significantly better than that of the students in the control group. The mean difference for the experimental group over the two month period was 9.29 which is significantly higher than that of control group which was 3.40. These data confirm that there is a strong relation between game-based learning approach and mathematics achievement. With respect to attitudes toward mathematics there was a similar result over the two-month period. Most of the students revealed quite positive attitudes toward the use of the game-based learning approach. The mean in the pre-test of the experimental group was 2.06 and 4.61 in the post-test. The mean score had increased by 2.55 which indicated that game-based learning had a positive effect on student attitudes towards mathematics.These results should encourage school leaders in Bhutan and elsewhere to consider adopting Game-Based learning approach for the teaching of mathematics for middle school age students.

Download in PDF (346.35 KB)

How to cite!

Jigme, K., & Wallin, J. (2560). . Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 11(1), 1-12

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in