วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Following ‘Recipes’ for Chemistry Teaching: Be careful!


บทคัดย่อ

     การทำปฏิบัติการในวิชาเคมีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการลงมือปฏิบัติจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจทฤษฏี
ทางเคมีที่เกี่ยวข้อง และช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ครูผู้สอนอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำปฏิบัติการเคมี และการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีที่แตกต่างออกไป ทำให้
ผลไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการเคมีของ
ครูสองคนที่มีประสบการณ์ในการสอนและมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยจะแสดงให้เห็นวิธีการคิดที่ส่งผลถึงวิธีการ
ปฏิบัติ การสร้างความสนใจ และการทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรม โดยครูคนหนึ่งเป็นครูวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์การ
สอนสูงจากประเทศนิวซีแลนด์และอีกคนหนึ่งเป็นครูจากประเทศไทยที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า บทความนี้ไม่ได้ระบุ
ว่าวิธีการคิดหรือแนวทางในการปฏิบัติของครูผู้สอนทั้งสองเป็นตัวแทนของประเทศนั้นๆ แต่จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกันของ
ประสบการณ์ในการสอน วิธีคิดและวิธีการปฏิบัติในห้องเรียน ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านสะท้อนคิดและพัฒนาแนวทางการสอนปฏิบัติ
การของตนเองได้ บทความนี้เสนอให้ครูผู้สอนต้องมีความยืดหยุ่นและคล่องแคล่วที่จะตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าการทำตามขั้นตอนการทดลองอย่างเคร่งครัด ในการทำเช่นนั้นครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ
ทฤษฏีการเรียนรู้และกลวิธีในการจัดการสอน ตลอดจนความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้
ให้บรรลุตามที่หลักสูตรกำหนดไว้

Abstract

     Laboratory work in chemistry classrooms plays an important role in helping learners understanding
the concepts involved. It also helps developing analytical skills as well as understanding the nature of science.
However, chemistry teachers may understand and manage laboratory work in different ways; some of these
approaches may not achieve the intended aims. The purpose of this article is to describe how two chemistry
teachers of widely different cultural backgrounds implement laboratory demonstrations and how they think
about students’ interest and engagement in the chemistry lab. One of the participants is an experienced 
science teacher in New Zealand; the other is a young chemistry teacher from Thailand. We do not suggest
that these two teachers are in any way representative of teachers in their countries in general. However, an
examination of their backgrounds and approaches reflect strong contrast that can serve as a useful vantage
point for reflection and possible improvement. This article argues that teachers need to be flexible and
‘nimble’ in responding to the specific learning needs of their students rather than following prescriptivist
approaches or ‘recipes’ too closely. This requires that the teacher has a sound knowledge of learning strategies
and theories, as well as a comprehensive knowledge of the curriculum in order to serve the goal of curriculum.

Download in PDF (5.87 MB)

How to cite!

Wichaidiะ, P., & Chapman, D. (2559). . Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 10(2), 97-111

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in