การศึกษาสภาวะการทำงานและความคิดเห็นต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2546-2548
Working Status and Opinion toward Bachelor of Nursing Science Program of Rangsit University among the Graduates in Academic Year 2004, 2005 and 2006
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research Design) เพื่อศึกษาสภาวะการทำงานและความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ความสามารถในการปฏิบัติงานบุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง และทัศนคติต่อวิชาชีพของบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2546 2547 และ 2548 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามบัณฑิตภายหลังจากที่บัณฑิตสำเร็จการศึกษาไปแล้วประมาณ 8 เดือน จำนวน 226 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการมีงานทำความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความชำนาญและการนำความรู้และทักษะความชำนาญไปใช้ ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล บุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง และทัศนคติต่อวิชาชีพ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นชนิดความสอดคล้องภายใน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค 0.70-0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ F-testผลการศึกษาพบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่หางานทำได้ภายใน 1 เดือน ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของเอกชน รายได้เฉลี่ย 17,804 บาทต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5,877) ประมาณร้อยละ20 เคยเปลี่ยนงานอย่างน้อย 1 ครั้ง เนื่องจากต้องการงานที่เหมาะสมกับตนเอง ส่วนความคิดเห็นต่อหลักสูตร บัณฑิตประเมินว่าได้รับความรู้ ทักษะและการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี-ดีมากมีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล บุคลิกภาพและการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับดีมาก ทัศนคติต่อวิชาชีพอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ พบว่า บัณฑิตประเมินตนเองเรื่องภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ ต่ำกว่าด้านอื่นๆเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะความชำนาญ การนำความรู้และทักษะความ ชำนาญไปใช้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล บุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง และทัศนคติต่อวิชาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2546 2547 และ 2548 โดยใช้สถิติ F-test พบว่าไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ควรเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมุ่งพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ และภาวะผู้นำให้กับนักศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีแรก เพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง
Abstract
This descriptive study was design to describe and compare working status and opinion toward bachelor of Nursing Science Program of Rangsit University among the graduates in academic year 2004, 2005 and 2006. Secondary data were analyzed. The research instruments included 1) The Demographic data, 2) the Knowledge, Skill and Application Questionnaire, 3) the Practice Ability Scale, 4) the Personality and Self-Development Scale and 5) the Attitude toward Nursing Professional Scale. The content validity was confirmed by the panel of experts. The internal consistency reliability of The Practice Ability Scale. The Personality and Development Scale and the Attitude toward Nursing Professional Scale were tested using Cronbach's alpha coefficient and showed the value of 0.93, 0.94 and 0.70 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, and F-test. The findings revealed that the graduates could find job in 1 month, with average income 17,804 bahts per month (SD 5,877). Almost of the graduates worked in private hospitals. About 20% had changed job for at least 1 time because they wanted to find more suitable job. The mean score of knowledge, skill, application, practice ability, personality and self-development were at a high level but the mean score of attitude toward nursing profession was at a moderate level. Leadership and management skill were at a lower level than other domains. When compared the mean score among the graduates in academic year 2004, 2005 and 2006, there was not a significant difference. Findings from this study could be used as preliminary data for the nurse instructor to promote leadership and management skill of the students in the early year.
How to cite!
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, & มนพร ชาติชำนิ. (2550). การศึกษาสภาวะการทำงานและความคิดเห็นต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2546-2548. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(2), 4-14
Indexed in