วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกับการบูรณาการวิชาการร่วมกับสังคมแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Development of Teaching and Learning Activities Through Academic Integration with the Learning Society Case study: Faculty of Industry and Technology Rajamangala University of Technology Isan


วันที่ส่งบทความ: 22 ส.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 2 ต.ค. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตรสาขาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ปีการศึกษา 2562-2563 ในมุมมองของศิษย์เก่า 2) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิชาการกับรายวิชาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม 3) ประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับการบูรณาการวิชาการร่วมกับสังคมแห่งการเรียนรู้ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากการจัดกิจกรรมของนักศึกษา กรณีศึกษารายวิชาหลักการขาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2564 เรียนวิชาหลักการขาย จำนวน 50 คน  ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา จำนวน 100 คน และบุคลากรโรงเรียนที่รับบริการ จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปเนื้อหาสาระ และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ผ่านมาเน้นเรียนภาคทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมกับชุมชนมีน้อย ขาดความกล้าแสดงออก และขาดการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม 2) การพัฒนากระบวนการกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมบูรณาการวิชาการกิจกรรมธุรกิจจำลอง และกิจกรรมเพื่อสังคม 3) นักศึกษามีระดับความพึงพอใจต่อการเรียนรู้กับการบริการวิชาการอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อการเรียนรู้กับการบริการวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากการจัดกิจกรรมของนักศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน  มีระดับความพึงพอใจมาก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมธุรกิจจำลอง มีระดับความพึงพอใจมาก และบุคลากรโรงเรียน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป
 

Abstract

This research aims to 1) Investigate the issues surrounding the teaching and learning of topics in the Business Administration curriculum. From the perspective of alumni, Faculty of Industry and Technology Rajamangala University of Technology Isan, academic year 2019-2020. 2) Create a teaching strategy that combines academics with societally beneficial subjects. 3) Evaluate student perspectives and satisfaction with the way academic integration into learning activities is carried out and 4) Analyze the degree of participant satisfaction with the lessons. Case study for the Principles of Sales course. The study's sample group included 50 students studying sales principles in the first semester of 2021, 15 community company entrepreneurs, a sample group of 100 student activity participants, and 10 school staff who received services. Unstructured interviews served as the research tool. and a survey to gauge the attitudes of students toward integrated teaching and learning activities. Summarize the information and then analyze it. as well as descriptive statistics. Describe the standard deviation and average as well. The results showed that 1) teaching and learning issues in the past focused more on theory than practice. There is not much community participation. lack of social awareness and lack of bravery 2) process development for educational activities, such as tasks for academic integration, simulated commercial tasks, and social interactions 3) students expressed high levels of satisfaction with their education and academic support and they had the highest regard for academic service and learning and 4) entrepreneurs from the local community participate in student activities. great degree of satisfaction Participants in simulated business events report being quite satisfied, with school staff reporting being the most satisfied. Additionally, it is a beneficial practice for the upcoming academic year's teaching and learning.

Download in PDF (572.29 KB)

How to cite!

ชัดชัย รัตนะพันธ์ (2568). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกับการบูรณาการวิชาการร่วมกับสังคมแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 186-201

References

กองนโยบายและแผน. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569). สืบค้นจาก  https://www.rmuti.ac.th/main/wp-content/files/ita/65.

แผนกงานแผนและประกันคุณภาพการศึกษา. (2564). แนวปฏิบัติที่ดี. สืบค้นจาก http :// fit.rmuti.ac.th

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาครูโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเสริมด้วยกระบวนการคิดการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.
วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45(2), 21-40

ณัฐชยา พลาชีวะ ปราโมทย์ ถ่ายกระโทก และดวงกมล วัดราดุลย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการวิจัยในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาพยาบาล.
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(1), 184-196

ดนุชา สลีวงศ์ และณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 2355-2371

ธรัช อารีราษฎร์ วรปภา อารีราษฎร์ อภิชาติ เหล็กดี และนิรุตต์ บุญคง. (2560). การบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมสู่การเรียนการสอนและการบริการวิชาการโดยใช้สื่อไอซีที.
วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 4(2), 57-66

เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล วิชัย เสวกงาม และพัชณิตา ธรรมยงค์กิจ. (2564). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.
วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 11-30

ปภัส ฉัตรยาลักษณ์ และจุฑารัตน์ เปลวทอง. (2563). รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 11(2), 10-25

พิมาย วงค์ทา ธรัช อารีราษฎร์ และละอองทิพย์ มัทธุรศ. (2563). รูปแบบการบูรณาการเรียนการสอนแบบโครงงานสู่บริการวิชาการโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล.
วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 7(1), 63-76

พิมผกา ปัญโญใหญ่ เทวาพร ศุภรักษ์จินดา และวราภรณ์ สระมัจฉา. (2565). การบูรณาการวิชาการกับการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(4), 124-136

วราภร กรีเทพ. (2563). กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, 21(2), 143-158

ศุภวรรณ์ เล็กวิไล และเรียม ศรีทอง. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาครู. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(2), 1-16

ศุภิสรา สุวรรณชาติ และคณะ. (2562). การบูรณาการพันธกิจ บทบาททีท้าทายของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 158-175

สุวมาลย์ ม่วงประเสริฐ และสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2562). ผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาในหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(1),251-262

สัมพันธ์ ฤทธิเดช. (2566). ภูมิทัศน์การอุดมศึกษาประเทศไทย การวิเคราะห์และการปฏิรูป. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

อนงค์นาถ ทนันชัย. (2563). การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอของนักศึกษาในรายวิชาการนำเสนอผลงานทางธุรกิจ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 7(1), 48-63
 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in