การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูในประเทศไทยเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านไอแพด
Enhancing Thai Teacher's Technological Pedagogical Content Knowledge for Intradisciplinary Teaching Using Digital Technology through Ipad
วันที่ส่งบทความ: 26 มิ.ย. 2566
วันที่ตอบรับ: 2 ต.ค. 2566
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านไอแพด 2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านไอแพดของครู 3) ประเมินประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการผ่านห้องเรียนด้วยการจัดการการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านไอแพด และ 4) พัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการหนุนนำอย่างต่อเนื่อง สำหรับห้องเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีกลุ่มวิจัยได้แก่ ครูผู้สอน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ จากโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง จำนวน 77 โรงเรียน รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบวัดความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตชั้นเรียน และแบบบันทึกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ข้อมูลวิจัยมีการรวบรวมทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ครูมีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้าน และสามารถออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทของโรงเรียนตนเองเข้ามาร่วม การจัดการเรียนรู้เป็นรูปแบบการบูรณาการแบบร้อยด้าย และแบบบูรณาการ สอดคล้องกับผลวิจัยในด้านความเข้าใจและทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการข้ามสาระวิชาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของครูที่เพิ่มมากขึ้น ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพร่วมกันภายในโรงเรียนและการหนุนนำอย่างต่อเนื่องจากทีมวิจัย ผู้อำนวยการและศึกษานิเทศก์ในพื้นที่ ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการข้ามสาระวิชาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ผลลัพธ์ที่เกิดกับครูผู้สอน คือ การรับรู้และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล ในภาพรวมครูส่วนใหญ่มีการรับรู้เชิงบวกต่อการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล โดยครูส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.07 มีการรับรู้เชิงบวก ว่าการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถการส่งส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน และส่งเสริมการร่วมมือของนักเรียน สอดคล้องกับความคิดเห็นของครูส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.40 ว่าเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลมีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการเชื่อมโยงการเรียนรู้และการสอนของตนเองได้ และ 2) ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักเรียน ได้แก่ สมรรถนะของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้โดยใช้หน่วยการเรียนรู้ต้นแบบ พบว่า ระดับสมรรถนะเป้าหมายของหลักสูตร โดยภาพรวม นักเรียนอยู่ในระดับ 3 คือ มีสมรรถนะระดับสามารถตามเกณฑ์การพัฒนาสมรรถนะของหลักสูตร จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการฝึกปฏิบัติ ร่วมกับการสะท้อนบทเรียนสู่การพัฒนาให้ยืดหยุ่นกับริบทของโรงเรียนสามารถพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีมาร่วมออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้
Abstract
The objectives of this research were 1) to develop grade 7 teachers’ technological pedagogical content knowledge (TPACK) for integrated teaching using digital technology via an iPad; 2) to develop integrated teaching; 3) to assess the effectiveness of using an integrated curriculum through the classroom using digital technology via an iPad; and 4) to develop a coaching team for providing continuous support to these teachers. Mixed method was used as the research methodology. The research participants were 5 teachers who taught in science, mathematics, social studies, Thai and English subjects from 77 schools (total 385 teachers), school principals, and district supervisors. Data was collected using a TPACK survey form, an integrated lesson plan assessment form, a semi-structural interview and through classroom observation. Research data was collected with quantitative and qualitative data. The results showed that teachers had increased their TPACK, especially in designing and developing learning management using the context of their own school and participation in learning activates. Their teaching and learning integration were in forms of threading and integrated designs. This supports the research findings on teachers' understanding and skills of integrated teaching across subjects with increasing digital technology use. These changes were created by working as a team in a professional learning community (PLC). These teachers were working collaboratively among researchers, school principals, and district educational supervisors. As TPACK developed during the classroom implementation, the results of evaluating the effectiveness of using integrated curriculum across subjects with digital technology also showed how these teachers gradually develop their knowledge and practice:1) The results experienced by teachers were aligned with the perception and use of digital technology tools. Overall, most teachers had a positive perception of using digital technology tools. The majority of teachers, 93.07 percent had a positive perception that the use of digital technology tools can foster students' creative abilities and encourage collaboration among students. This is consistent with the opinions of most teachers, 97.40 percent, in which indicates that digital technology tools are useful and can be used to link their own learning and teaching, and 2) the outcomes for students, including student performance after learning. By using the model learning unit, it was concluded that the overall target competency level of the curriculum for the students were at level 3, which was at the desired competency level according to the competency development criteria of the curriculum. The research results showed that teacher professionalism developed by using the classroom as a unit of practice. Together with the reflection of the lesson to develop flexibility within the context of the lesson, the school can better develop teachers by using technology to participate in designing learning management.
Keywords
ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ; การจัดการเรียนรู้บูรณาการข้ามศาสตร์ ; เทคโนโลยีดิจิทัล; การพัฒนาวิชาชีพครู ; Technological Pedagogical Content Knowledge; Trans-disciplinary integrated Teaching and Learning; Digital Technology; Teacher Professional Development
How to cite!
ศิริวรรณ ฉัตรณีรุ่งเจริญ (2568). การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูในประเทศไทยเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านไอแพด . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 128-146
References
ธวัช ชิตตระการ. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านโปรแกรม STEM. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study): นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2547). บทบาทของครูกับการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
อภิสิทธิ์ ธงไชย และคณะ. (2555). สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง Science, Technology, Engineering, and Mathematics Education: Preparing students for the 21st Century.
สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565 จาก http://designtechnology.ipst.ac.th/uploads/STEMeducation.pdf.
Angeli, C., and Valanides, N. (2009). Epistemological and methodological issues for the conceptualization, development, and assessment of ICT- TPCK: Advances in technological pedagogical content knowledge.
Computers & Education, 52(1), 154-168. https://doi.org/10.1016/ j.compedu.2008.07.006.
Gess-Newsome, J. (2002). Pedagogical content knowledge: An introduction and orientation. In J. Gess-Newsome, and N. Leaderman (Eds.), Examining pedagogical content knowledge:
The construct and its implications for science education.pp.3-17). New York, NY: Kluwer Academic.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2008). Introducing Technological Pedagogical Content Knowledge.In AACTE Committee on Innovation and Technology (Eds.),
Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK) for Educators (pp. 3-29). New York: Routledge.
Tanak, A. (2019). Designing TPACK-based course for preparing student teachers to teach science with technological pedagogical content knowledge. Kasetsart Journal of Social Sciences, 41(1), 53–59.
Indexed in