ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
The Effects of Model-Eliciting Activities on Mathematical Literacy in Probability of Students in Grade 9
บทคัดย่อ
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์เป็นสมรรถนะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่นักเรียนต้องมีในการประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริง แต่จากการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยที่ผ่านมานั้นมีผลคะแนนเฉลี่ยที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของทุกประเทศที่เข้าร่วมรับการประเมิน ดังนั้นในงานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities จำนวน 4 แผน ใบกิจกรรม และแบบทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ส่วนใหญ่มีระดับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในระดับดี ถึง ดีมาก กล่าวคือ นักเรียนสามารถระบุประเด็นปัญหาหรือทำสถานการณ์ให้อยู่ในรูปอย่างง่ายเพื่อทำการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างตัวแปรเพื่อนำไปแก้ปัญหาในกระบวนการคิดเชิงคณิตศาสตร์ รวมทั้งสามารถตีความผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ และอธิบายความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์กลับไปสู่บริบทในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม
Abstract
Mathematical literacy is one of the important competencies that students must have to apply mathematical knowledge to their real-life problems. However, according to the international assessment, the average score of Thai students stands below the average score of all countries. Therefore, this research aimed to study the effects of Model-Eliciting Activities on mathematical literacy in the topic of Probability. The participants in this research included 21 9th graders from the middle school in Phitsanulok Province. Research instruments consisted of 4 lesson plans that had Model-Eliciting Activities integrated, worksheets and the mathematics literacy test. The results from mathematical literacy test showed that students could identify issues and simplify them to facilitate the analysis. They could also create variables to be used in problem solving, interpret the mathematical results and explain logically to relate to real-life context.
Keywords
Model-Eliciting Activities; Mathematical Literacy; Probability; การจัดการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ; การรู้เรื่องคณิตศาสตร์; ความน่าจะเป็น
How to cite!
ทีฆทัศน์ ญาณะทวี, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม, & วนินทร สุภาพ. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 103-117
Indexed in