การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์ เรื่อง แบบจำลองอะตอม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Effects of Inquiry Based Learning through Webquest in a Topic of Atomic Models on Students' Academic Achievement and Analytical Skills
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนแบบเว็บเควสท์ เรื่อง แบบจำลองอะตอม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์ และนักเรียนที่เรียน ในห้องเรียนแบบปกติ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์ บทเรียนแบบเว็บเควสท์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดความ พึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ T-test
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนแบบเว็บเควสท์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.58/81.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 จากการประเมินความรู้เรื่องแบบจำลองอะตอม นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบน เว็บเควสท์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสูงกว่านักเรียนที่เรียนในห้องเรียนแบบปกติ นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were : (1) to develop Webquest lesson on Atomic Models which comply to the efficiency criterion of 80/80 (2) to evaluate learning and analytical thinking skills before and after learning with Webquest lesson by comparing the results between the sample group and the regular classrooms group and (3) to evaluate the students’ satisfaction of Webquest learning. The samples were the Mathayomsuksa 4 students of academic year 2019 by using cluster random sampling method. The employed research instruments were Webquest development, lesson plan for inquiry based learning through Webquest, learning achievement test, analytical thinking skills test and evaluation test of students’ satisfaction on learning the Webquest lesson. The data were systematically analyzed by descriptive statistics (t-test dependent).
It was found that the efficiency of Webquest lesson was obtained at 83.58/81.80, which was higher than the standard criterion of 80/80. This indicates that the students knowledge on Atomic Models after learning through the Webquest was improved. In addition, the students learning achievement and analytical thinking skill after using the Webquest lesson found at the significant level of 0.05 higher than before learning and higher than those of the students in the regular classroom. Finally, the students learned with the Webquest lessons have the overall satisfaction in the high level.
Keywords
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์; ความพึงพอใจของนักเรียน ; ทักษะการคิดวิเคราะห์ ; Analytical Skill; Inquiry-based Learning through Webquest; Learning Achievement; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; Students’s Satisfaction
How to cite!
จริญญา เดือนแจ้งรัมย์, กรวลัย พันธุ์แพ, & มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านบนเว็บเควสท์ เรื่อง แบบจำลองอะตอม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 49-65
Indexed in