การศึกษาความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตบัญชี กรณีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Employers’ expectation on Graduates of Faculty of Accountancy: A Case of Proficiency in Information Technology
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงความคาดหวังของผู้บริหารทางการบัญชีที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาการบัญชีใน 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี
ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าของกิจการ ผู้จัดการฝ่ายบัญชี หัวหน้างานฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินรวมถึงผู้ตรวจสอบบัญชีทั้งภายในและภายนอกองค์กรของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบัณฑิตบัญชีที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาลและเอกชน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้แก่นายจ้างบัณฑิตจำนวน 760 ชุด ปรากฏว่าแบบสอบถามที่สมบูรณ์จนสามารถเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลมีจำนวนเท่ากับ 193 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จากตารางการแจกแจงความถี่ร่วมการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้การทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตบัญชีด้านความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้นายจ้างกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตมีความคาดหวังต่อบัณฑิตบัญชีในด้านความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายระยะไกล (WAN) และความสามารถในการใช้โปรแกรม Microsoft Access มากกว่าธุรกิจซื้อมาขายไป นายจ้างธุรกิจการบริการมีความคาดหวังต่อบัณฑิตบัญชีในด้านความสามารถในการใช้โปรแกรม Microsoft Power Point มากกว่าธุรกิจซื้อมาขายไป ส่วนความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตบัญชีในด้านอื่นๆ ที่เหลือไม่มีความแตกต่างกัน
Abstract
The objective of this study were to know about expectation of accounting manager on graduates of faculty of accountancy in four aspects comprising knowledge of computer, proficiency in computer, package software and accounting software.
Data were collected by questionnaire. Questionnaire was sent to owner's, accounting manager, chief of accounting, senior accountant and internal-external auditor of limited companies in Bangkok. 760 questionnaires were sent to graduates’ employers. 193 questionnaires were completed and brought to analysis process. Mean, Standard Deviation, Analysis from Tables of Co-frequencies, Test difference between groups by Chi-Square Test and Analysis of Variances were used for data analysis.
The results of the study indicated that most of the employers had expected knowledge of computer and proficiency in computer from the students at a high level. Proficiency in package software and accounting software were expected from the students at the highest level. In addition, the employers of manufacturing firms, more than the employers of service firms expected from graduates knowledge about wide area network (WAN) and proficiency in Microsoft access. Employers of service firms, more than employers of merchandise firms, expected from graduates proficiency in Microsoft power point. There was no difference in other aspects.
How to cite!
จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล (2551). การศึกษาความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตบัญชี กรณีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(2), 42-52
Indexed in