วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การสำรวจความคิดเห็นด้านรูปแบบและเทคนิคการสอนวิชา ปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร

A Survey of Opinions on Instruction Patterns and Techniques for Practicum in Laboratory Diagnosis Course


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหาข้อมูลด้านการจัดการเรียนการสอน ในวิชาปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรหรือวิชาฝึกงานของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอน รูปแบบของการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามการฝึกงาน เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เรียนวิชาปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 65 คน และปีการศึกษา 2548 จำนวน 84 คน ศิษย์เก่าของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จบการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2544-2546 จำนวน 26 คน บุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกงานของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในปีการศึกษา 2547 จำนวน 45 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 220 คน

ผลจากการศึกษาพบว่าการฝึกงานภายในคณะและที่โรงพยาบาล ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีความสามารถในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพเทคนิคการแพทย์อยู่ในระดับมาก รวมทั้งมีความพึงพอใจในด้านต่างๆ อยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ความไม่พร้อมของอุปกรณ์และน้ำยา ความไม่สะดวกในการเดินทางไปฝึกงานที่โรงพยาบาล ผลการสำรวจข้อมูลจากศิษย์เก่า พบว่า รูปแบบการฝึกงานที่มีอยู่มีความเหมาะสมพอใช้ถึงเหมาะสมดี การฝึกงานทั้งที่คณะและโรงพยาบาล ทำให้ศิษย์เก่ามีความรู้ ความเข้าใจในด้านต่างๆ อยู่ในระดับมาก รวมทั้งมีความพึงพอใจในด้านต่างๆ อยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ควรมีการเพิ่มความรู้ให้กับนักศึกษาฝึกงานทางด้านคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษให้มากขึ้น สำหรับผลการสำรวจบุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกงาน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นเรื่องรูปแบบการฝึกงาน ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีข้อเสนอแนะ เช่น ควรเพิ่มระยะเวลาฝึกงานที่โรงพยาบาลนักศึกษาควรอ่านหนังสือทางด้านการฝึกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการก่อนเริ่มฝึกงาน และควรแสวงหาความรู้ต่างๆ ให้มากขึ้น

โดยสรุป รูปแบบและเทคนิคการฝึกงานของคณะเทคนิคการแพทย์ทั้งภายในคณะและโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกงาน อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมดี โดยควรมีการปรับปรุงในประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะต่างๆ เพิ่มเติมขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในวิชานี้ต่อไป

Abstract

The purpose of the study was to survey the opinions, in order to use the data collected to improve instruction patterns and techniques for Laboratory Diagnosis, a practicum course in the Faculty of Medical Technology, at Rangsit University. The tools used in this study were questionnaires. The samples consisted of 220 subjects, who were 65 fourth year students in academic year 2004, 84 fourth year students in acacemic year 2005, 26 former students during academic year 2001-2003 and 45 practitioners in hospitals where the practicums took place for Laboratory Diagnosis course in academic year 2004.

The results showed that the fourth year students gained from both faculty and hospital practicums, knowledge and useful capacity for medical technology profession, at a very satisfied level.

However, they commented on the inadequacy of the equipments and of the reagents and the inconvenience to get to the practicum hospitals. The result from former students revealed that the used patterns of practicum were at a fair to good level. They gained from practicums, knowledge and useful capacity at a very satisfied level. But they suggested to enhance proficiency in English and in computer of the students. As for the practitioners in the practicum hospitals, they felt that, on the whole, the instruction patterns, the students’ gained knowledge, their responsability and personality, were at a fair to good level. The practitioners made suggestions of increasing time for practicum; and the students had to find out about the laboratory work before beginning the practicum and had to grow rich in various fields of knowledge.

To sum up, the instruction patterns and techniques used in the practicum course, both in the Faculty of Medical Technology and in the hospitals were at a suitable level, and on condition that the suggestions will be put to use to improve the practicum course.

Download in PDF (136.85 KB)

How to cite!

อังสนา โยธินารักษ์, เยาวลักษณ์ พิมายนอก, สุภาภรณ์ หงษ์ยนต์, รุ่งนภา ด้วงนคร, & จิรพร สอนธรรม. (2551). การสำรวจความคิดเห็นด้านรูปแบบและเทคนิคการสอนวิชา ปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(2), 32-41

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in