วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การแก้ปัญหาความวิตกกังวลในการพูดหน้าชั้นเรียนของนักศึกษาวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (THA106)


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาความวิตกกังวลในการออกมาพูดหน้าชั้นของนักศึกษา โดยนำวิธีการสอนหลากหลายมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (THA106) ที่มีจุดประสงค์การเรียนเพื่อฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน นอกจากนี้ยังเป็นวิชาบังคับหมวดพื้นฐานที่นักศึกษาทุกคณะต้องเรียน จึงทำให้ มีความหลากหลายในหมู่ผู้เรียน ทั้งความแตกต่างเรื่องเพศวัย สาขาวิชาเรียน ที่ล้วนมีผลต่อพฤติกรรม และความสามารถของผู้เรียน

ผลการวิจัย โดยการวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การพูดของผู้เรียนทั้งก่อนและหลังการเรียน ตลอดจนการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ผู้เรียนพบว่า ปัญหาความวิตกกังวลในการพูดหน้าชั้น ของนักศึกษาเกิดจากเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก กล่าวคือ เหตุปัจจัยภายในตัวนักศึกษาที่คาดหวังกับคะแนนในการพูดหน้าชั้น แต่ไม่มีประสบการณ์ ขาดทักษะ และไม่กล้าแสดงออกมาก่อน จึงเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมากในการออกมาพูดหน้าชั้น ส่วนเหตุปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อนักศึกษาที่คาดหวังและไม่คาดหวังคะแนนจากการพูดหน้าชั้น คือบรรยากาศในชั้นเรียน อันประกอบด้วยตัวผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีความเป็นกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ตลอดจนความสนุกสนานระหว่างเรียน สามารถลดความวิตกกังวลในการออกมาพูดหน้าชั้นของนักศึกษาแต่ละคนได้ นอกจากนี้ การกำหนดเกณฑ์ประเมินการพูดที่ไม่สูงจนผู้เรียนรู้สึกกดดันจนเกินไป ก็สามารถทำให้ผู้เรียนคลายความวิตกกังวลในการพูดได้เช่นกัน

จึงอาจกล่าวได้ว่า การแก้ปัญหาความวิตกกังวลในการพูดหน้าชั้นเรียนสามารถทำได้ด้วยการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เคร่งเครียดและไม่กดดันผู้เรียนด้วยคะแนน แต่เน้นการฝึกทักษะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการพูดหน้าชั้นเรียนของผู้เรียนแต่ละคน

Abstract

This research aimed to find ways to solve the problem of students' anxiety when they gave class oral presentations. A variety of teaching methodology is used in teaching Thai for Communication (THA 106). The objective of this course is to have the students practice listening, speaking, reading and writing skills of the Thai language effectively. This course is a required course, and every student must take it. As a result, there is a vast diversity among the learners in terms of their sex, age and fields of study which affects the students' ability and behavior.

The instruments used were a questionnaire concerning the student presentation experience before and after the course, observation of the students' behavior and interviews. The result was that the anxiety was caused by both internal and external factors. The internal factor concerned the students' expectation of high scores despite their lack of experience and presentation skills and lack of self confidence to express themselves. These caused them to get anxious so much when giving oral presentations. The external factor, for students who expected high scores as well as those who did not have a high expectation, was the classroom atmosphere regarding both the teachers and the classmates.

The level of anxiety could be reduced if the lesson was fun and the classroom atmosphere was friendly with a good students-teacher as well as students-students relationship. Another factor that could help to reduce the anxiety was the criteria which were not very high and which were not a pressure for the students.

To sum up, the level of anxiety can be reduced when the classroom atmosphere is nice and the students do not get stressful with the high expectation for high scores since the focus of the course is on the practice to develop the oral presentation skills of each student.

Download in PDF (160.62 KB)

How to cite!

ศนิวาร วุฒฑกุล (2551). การแก้ปัญหาความวิตกกังวลในการพูดหน้าชั้นเรียนของนักศึกษาวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (THA106). วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(2), 4-12

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in