การผลิตชุดการเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในหัวข้อเรื่อง การตรวจปัสสาวะ
Computer Aided Instruction for Urinalysis
บทคัดย่อ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction (CAI) คือการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน โดยผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ ซึ่งมีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย ประกอบกันเป็นเรื่องราว โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมระบบและแสดงเนื้อหาบนจอภาพการเรียนในห้องเรียน มีทั้งผู้ที่เรียนรู้ได้เร็วและผู้ที่เรียนรู้ได้ช้า ซึ่งต้องการการทบทวน หรือการค้นคว้าเพิ่มเติมจึงจะเข้าใจเนื้อหานั้น ในการวิจัยครั้งนี้ จึงมีจุดประสงค์เพื่อผลิตสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการตรวจปัสสาวะ เพื่อมุ่งเน้นให้มีการศึกษาด้วยตนเอง ทบทวนให้เข้าใจดียิ่งขึ้น ให้การศึกษานั้นได้ความรู้ที่แท้จริง เข้าใจ ไม่กดดัน สะดวกต่อการศึกษาเวลาใดก็ได้ไม่จำกัดเวลา โดยมีการประเมินความรู้ก่อนศึกษาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหลังจากได้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการตรวจปัสสาวะ โดยให้ทำแบบทดสอบชุดเดิม จำนวนแบบทดสอบ 30 ข้อ ประเมินโดยนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 45 คน และชั้นปี 4 จำนวน 45 คน รวมจำนวน 90 คน และพบว่าคะแนนหลังเรียนผ่านสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าคะแนนก่อนเรียนผ่านสื่อการสอนนี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 15.24 ,p-vaule= 0.005) แสดงว่าสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการตรวจปัสสาวะสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความรู้ให้เข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์นี้ยังมีรูปแบบในด้านเนื้อหาและด้านการนำเสนอที่น่าสนใจและทันสมัย โดยผ่านการประเมินความพึงพอใจจากนักศึกษา 90 คน และอาจารย์ 10 ท่านวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรมแกรม SPSS ซึ่งพบว่าผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจมีทัศนคติต่อสื่อการสอนเรื่องการตรวจปัสสาวะในด้านเนี้อหาและในด้านการนำเสนออยู่ในระดับที่ดี จากผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการตรวจปัสสาวะ เป็นการช่วยทบทวนนอกห้องเรียน โดยไม่จำกัดเวลาในการเรียน รวมทั้งมีแบบทดสอบฝึกทดสอบความเข้าใจของผู้ใช้ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
Abstract
Computer aided instruction (CAI) is the method using computer for additional study by the mean through with the learners can accomplish by their self-study. It contains images, animation and sound effect which described all the story using as an equipment controlling and displaying all the details on the monitor. In the classroom study, there are both the students who can and cannot study well. Those who connot study well require and additional study to get more understanding. Therefore, the aim of this study is to produce an electronic teaching media in the topic of urinalysis and focuses on student's self-study by using CAI to enhance their knowledge and understanding. It is convenient to study at anytime. This teaching media was evaluated by forty five of third year students and forty five of fourth year students, Faculty of Medical Technology. The students' knowledge were evaluated both pre-test and post-test by using the same 30 questions examination papers after their self learning. It was found that the post-test scores were statistically higher than the pre-test scores by using SPSS program (p value = 0.005 and t = 15.24; pair t - test).The content and presentation of this media were at good level when were evaluated by the 90 students and 10 teaching staffs. These results suggested that this electronic teaching media could be used to improve the knowledge and understanding of the students in urinalysis.
How to cite!
จิราภรณ์ เกตุดี, อัจฉราวรรณ ทองมี, & วนิดา พงศ์สถาพร. (2550). การผลิตชุดการเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในหัวข้อเรื่อง การตรวจปัสสาวะ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(1), 66-72
Indexed in