วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ โดยใช้โครงงานเป็น พื้นฐานการเรียนรู้

The Opinions on Instructional Activities by Project Based Learning in Laboratory Physics


บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรูปแบบการสอนวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติการ โดยใช้โครงงานเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนใน 4 หัวข้อ คือ 1. ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้รายวิชาฟิสิกส์ระหว่างภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 2. การเชื่อมโยงความรู้รายวิชาฟิสิกส์กับสาขาอื่นๆ 3. การทำงานเป็นทีม และ 4. การนำทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในสาขาวิชาชีพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2548 รายวิชาฟิสิกส์ 1 :กลศาสตร์ ของไหลและความร้อน และรายวิชาฟิสิกส์เบื้องต้น จำนวน 194 คน ซึ่งรายวิชาทั้งสองจะประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือการเรียนปฏิบัติการแบบ Project Based Learning ที่เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กาญจนา จันทร์ประเสริฐเกณฑ์การวัดและประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์ (สิ่งประดิษฐ์) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนรายวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติการโดยใช้โครงงาน เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า chi-square (÷2) ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA)

ผลการวิจัยปรากฎว่า

1. ความคิดเห็นในด้านความชัดเจน/แสดงรายละเอียดครบถ้วนของคู่มือการเรียนปฏิบัติการแบบ Project Based Learningจำแนกตามเพศไม่มีความแตกต่างกัน แต่จำแนกตามคณะ และรหัสชั้นปีการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ความคิดเห็นในด้านความชัดเจน/แสดงรายละเอียดครบถ้วนของเกณฑ์การวัดและประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์ (สิ่งประดิษฐ์) จำแนกตามเพศ คณะและรหัสชั้นปีการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ ภาคปฏิบัติการโดยใช้โครงงานเป็นพื้นฐานการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากจำแนกตามเพศ คณะและรหัสชั้นปีการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purpose of this research was to study the opinion on instructional activities of thestudents, who were learning in the laboratory physics subject by project-based learning at Rangsit University. We studied 4 topics, the connection of the knowledge between lecture physics and laboratory physics, the connection of knowledge between physics and others, the teamwork, and the use of the skills in career. The population were 194 students who were studying Physics I (Mechanics Fluid and Heat) and Introductory Physics in the semester 2/2548. All of them were studying in the Medical College, the Faculty of Physical Therapy, the Faculty of Medical Technology, the Faculty of Information Technology, the Faculty of Architecture, and the Faculty of Science, respectively. To carry out the research, many research tools were used : the manual physics laboratory book written by Kanjana Chanprasert, the Evaluation Forms, and the questionnaires. The statistics used to analyze data were composed of the frequency, the percentage, the means, the standard deviation, the Chi-square (÷2 ), the t-test and the ANOVA.

The results of the research indicated that:

1. As regards sex, there was no statistical significance of the students’ opinion on the completeness and the clearness of the laboratory physics manual.

2. The students felt satisfied with the Project-Based Learning as ÷ equal to 3.95. After that we separated only one topic from four topics then we found equality between 3.80-405 one by one. Then we studied the topic of the teamwork ( ÷ = 4.05), the connection of knowledge between lecture physics and laboratory physics ( ÷ = 4.00), the connection of knowledge between physics and others ( ÷ = 3.94), and the use of the skills in career ( ÷ = 3.80), respectively. There was a statistical significance of .05 (p<.05), as regards sex, fields of study and academic year.

3. The suggestion for the Problem-Based Learning wear as follow :

- Increase teamwork activities.

- Increase time period.

- Evaluate some knowledge gained from the projects oat final examination.

- Equalize the number of students in each group and not too many in each.

Download in PDF (112.78 KB)

How to cite!

กาญจนา จันทร์ประเสริฐ (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ โดยใช้โครงงานเป็น พื้นฐานการเรียนรู้. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(1), 38-42

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in